ตรวจสอบทบทวน บทที่ 2

ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ขั้นการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด จากหลักสูตรที่ตรงกับสาขาวิชาเอกหรือกลุ่มสาระที่สนใจแล้วเขียนข้อความที่แสดงว่าผู้เรียนจะเรียนรู้อะไร และสามารถทำอะไรได้ ข้อความที่เป็นความรู้ โดยการระบุความรู้ในรู้ของสาระสนเทศ (declarative knowledge) (เช่น ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง...) และข้อความที่เป็นการปฏิบัติ โดยการระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ (procedural knowledge) (เช่น ผู้เรียนสามารถที่จะปฏิบัติ หรือกระทำเรื่อง...)


สาระสำคัญ
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช  คือ  การที่พืชมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  ได้แก่  แสง  เสียง  อุณหภูมิ  ความชื้น  การสัมผัส  และแรงโน้มถ่วงของโลก  เพื่อให้พืชสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน   1.1  เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ  ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน   8.1  ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้การแก้ปัญหา  รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน  สามารถอธิบายและตรวจสอบได้  ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ  เข้าใจว่า  วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี  สังคม  และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ตัวชี้วัด
1.  ว 1.1  ป.4/3  ทดลองและอธิบายการตอบสนองของพืชต่อแสง เสียง และการสัมผัส
2.  ว 8.1  ป.4/1  ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง หรือสถานการณ์ที่จะศึกษา  
                       ตามที่กำหนดให้ และตามความสนใจ
3.  ว 8.1  ป.4/2  วางแผนการสังเกต เสนอวิธีสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้า
                       และคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ
4.  ว 8.1  ป.4/3  เลือกอุปกรณ์ที่ถูกต้องเหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบ
5.  ว 8.1  ป.4/4  บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณ นำเสนอผล สรุปผล
6.  ว 8.1  ป.4/5  สร้างคำถามใหม่เพื่อการสำรวจตรวจสอบต่อไป
7.  ว 8.1 ป.4/6  แสดงความคิดเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
8.  ว 8.1 ป.4/7  บันทึกและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา
9.  ว 8.1 ป.4/8  นำเสนอ จัดแสดงผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบาย
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ลงมือทำการทดลองและสรุปผลการทดลองได้  (P)
2. คาดคะเนทิศทางการเจริญของรากและลำต้นได้  (P)
3. บอกความหมายของสิ่งเร้า  และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชได้  (K)
4. เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้  ช่างสังเกต  ช่างคิด  ช่างสงสัย  และเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการเสาะแสวงหาความรู้  (A)

สาระการเรียนรู้
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
          1.  ความสามารถในการสื่อสาร
              -  การอธิบาย  การเขียน  การพูดหน้าชั้นเรียน
          2. ความสามารถในการคิด     
              -  การสังเกต การคิดวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ
                 การสร้างคำอธิบาย การอภิปราย การสื่อความหมาย การทำกิจกรรมทดลอง
                 โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
          3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา
              -  การแก้ปัญหาขณะปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง
          4.  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
              -  กระบวนการกลุ่ม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.  ใฝ่เรียนรู้
2.  มุ่งมันในการทำงาน
3.  ซื่อสัตย์
4.  มีวินัย
5.  รู้จักแบ่งปัน
การบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา
S (Science ) : การดำรงชีวิตของพืช
T ( Technology) : การสืบค้นข้อมูล 
E( Engineering ) : การออกแบบการทดลอง
M( Mathematics ) : การเปรียบเทียบข้อมูล


ภาระงาน/ชิ้นงาน
          แผนภาพความคิด การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
          การนำเสนอผลงานกลุ่มด้วย  Application  Keynote

คำถามสำคัญ
          พืชมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัวเราอย่างไร
กิจกรรมการเรียนรู้
วิธีการสืบเสาะหาความรู้  (Inquiry  Method  :  5E)
ครูดำเนินการทดสอบก่อนเรียน  เพื่อตรวจสอบความพร้อมและพื้นฐานของนักเรียนโดยครูแสดงโจทย์จาก  Application  Keynote  (5  นาที)
ขั้นที่  1  สร้างความสนใจ (engagement)  (5  นาที)
1.  ครูนำเข้าสู่บทเรียน  โดยให้นักเรียนดูคลิป  VDO  เกี่ยวกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช  จาก  YOU  Tube
2.  ครูถามคำถามนักเรียน  ดังนี้
    2.1  พืชมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัวเราอย่างไร  (ตัวอย่างคำตอบ  รากพืชเจริญเติบโตลงสู่พื้นดิน  ลำต้นเจริญเติบโตขึ้นเหนือพื้นดินโดยโน้มเอียงตามแสง)

ขั้นที่  2  สำรวจและค้นหา  (exploration)  (20  นาที)
1.  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ  4-5  คน  จากนั้นให้นักเรียนศึกษาวิธีทำกิจกรรม  เรื่องการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช  ในใบกิจกรรมให้เข้าใจชัดเจน
2.  ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นก่อนทำกิจกรรม  โดยครูถามคำถามก่อนทำกิจกรรม  ดังนี้
    2.1  ขวดแก้วทั้ง  2  ใบ  มีอะไรที่เหมือนกัน  (มีกระดาษซับเหมือนกัน  จำนวนเมล็ดถั่วเขียวเท่ากัน)
    2.2  ขวดแก้วทั้ง  2  ใบ  มีอะไรที่ต่างกัน  (ขวดแก้วใบที่  1  พรมน้ำ  ส่วนขวดแก้ว
ใบที่  2  ไม่พรมน้ำ)
    2.3  กิจกรรมนี้ต้องการศึกษาเรื่องอะไร  (เพื่อศึกษาว่าเมล็ดต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโตเป็นต้นอ่อน  และศึกษาทิศทางการเจริญเติบโตของรากและลำต้นของต้นอ่อน)
          จากนั้นให้นักเรียนตอบคำถามก่อนทำกิจกรรมในใบกิจกรรม
3.  ให้นักเรียนทำกิจกรรม  เรื่อง  การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช  และบันทึกผลการทำกิจกรรมในใบกิจกรรม  และบันทึกภาพการทำกิจกรรมด้วย  Application  Camera

ขั้นที่  3  อธิบายและลงข้อสรุป  (explanation)  (15  นาที)
1.  ให้ผู้แทนนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรม  เพื่อเปรียบเทียบและตรวจสอบความถูกต้อง
2.  ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการทำกิจกรรม  โดยครูถามคำถามหลังทำกิจกรรม  ดังนี้
              2.1  นักเรียนคิดว่าเมล็ดต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโตหรือไม่  นักเรียนทราบได้อย่างไร  (เมล็ดต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโต  เห็นได้จากขวดแก้วใบที่  1  พรมน้ำ  ต้นอ่อนที่อยู่ในเมล็ดเจริญเติบโตมีรากและลำต้น  ส่วนขวดแก้วใบที่  2  ที่ไม่พรมน้ำ  ต้นอ่อนที่อยู่ในเมล็ดไม่เจริญเติบโต)
              2.2  รากที่งอกออกมาจากเมล็ดเจริญไปในทิศทางใด  (รากมีทิศทางการเจริญเติบโตลงสู่พื้นดิน)
              2.3  ลำต้นที่เกิดขึ้นเจริญไปในทิศทางใด  (ลำต้นมีทิศทางการเจริญเติบโตขึ้นเหนือพื้นดิน)
              2.4  ผลการทดลองนี้สรุปได้ว่าอย่างไร  (เมล็ดต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโตเป็นต้นอ่อน โดยที่รากของต้นอ่อนจะเจริญเติบโตลงสู่พื้นดินและลำต้นมีทิศทางการเจริญเติบโตขึ้นเหนือพื้นดิน)
              2.5  หลังจาก  7  วันแล้ว  ถ้านักเรียนนำขวดใบที่  1  มาวางตามแนวนอน  นักเรียนคิดว่า  ส่วนของรากและลำต้นพืชจะเจริญไปทิศทางใด  นักเรียนทราบได้อย่างไร  (รากมีทิศทาง
การเจริญเติบโตลงสู่พื้นดิน  ส่วนลำต้นมีทิศทางการเจริญเติบโตขึ้นเหนือพื้นดิน  ทราบได้จาก
การสังเกตผลการทดลอง)   
             2.6  หลังจาก  7  วันแล้ว ถ้านักเรียนนำขวดใบที่  1  มาวางกลับด้าน  โดยให้ฝาขวดอยู่ด้านล่างและก้นขวดอยู่ด้านบน  นักเรียนคิดว่าส่วนของรากและลำต้นจะเจริญไปในทิศทางใดนักเรียนทราบได้อย่างไร  (รากมีทิศทางการเจริญเติบโตลงสู่พื้นดิน  (ฝาขวด)  ส่วนลำต้นมีทิศทาง
การเจริญเติบโตขึ้นเหนือพื้นดิน  (ก้นขวด)  ทราบได้จากการสังเกตผลการทดลอง)
                   จากนั้นให้นักเรียนตอบคำถามหลังทำกิจกรรมในใบกิจกรรม
          3.  ให้นักเรียนร่วมกันสรุปผลการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช  ให้ได้ประเด็นตามจุดประสงค์การเรียนรู้
5.  นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลจากการปฏิบัติกิจกรรม  ด้วย  Application  Keynote 

ขั้นที่  4  ขยายความรู้  (elaboration)  (10  นาที)
1.  ให้นักเรียนสรุปความรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช  โดยเขียนเป็นแผนภาพความคิดจัดทำเป็นชิ้นงานด้วย  Application  Popplet  Lite 

ขั้นที่  5  ประเมิน  (elaboration)  (5  นาที)
1.  ให้นักเรียนเขียนแสดงความรู้สึกหลังการเรียน  ในประเด็นต่อไปนี้
                       สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ในวันนี้คืออะไร
                       นักเรียนเข้าใจเรื่องใดมากที่สุด
                       นักเรียนมีปัญหาหรือข้อสงสัยในเรื่องใดบ้าง
                       นักเรียนพึงพอใจกับการเรียนในวันนี้หรือไม่
                       นักเรียนต้องการให้ครูปรับปรุงการสอนในเรื่องใดบ้าง
          2.  ครูประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน  ดังนี้  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะทำงานร่วมกัน สังเกตการตอบคำถามของนักเรียนในชั้นเรียน  สังเกตการตอบคำถามในใบงาน  ประเมินการทดลอง ประเมินแผนภาพความคิด  และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยใช้แบบประเมินตามสภาพจริง

การจัดบรรยากาศเชิงบวก
ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบคำถามโดยไม่ต้องกังวลเรื่องถูกผิด  ช่วยกันปรับปรุงแก้ไขได้ 


เอกสารประกอบการสอน/สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1.  คลิป  VDO  เกี่ยวกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช  จาก  YOU  Tube
2.  ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกใสปากกว้าง  ขนาด  250  ลูกบาศก์เซนติเมตร   2  ใบ
3.  กระดาษซับขนาด  4  เซนติเมตร  Í  15  เซนติเมตร                1  แผ่น
4.  เมล็ดถั่วเขียว                                                                    10  เมล็ด
5.  น้ำ                                                           50  ลูกบาศก์เซนติเมตร
6.  แว่นขยาย                                                              1  อัน
7.  ใบกิจกรรม  เรื่อง  การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
8.  ipad
แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
1.  จากอินเทอร์เน็ต  การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช 
2.  Application  สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  Keynote,  Popplet  Lite,  Safari

การวัดและประเมินผล

วิธีการวัด
เครื่องมือ
เกณฑ์การประเมิน
ตรวจใบกิจกรรม  เรื่อง การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
แบบประเมินใบกิจกรรม  เรื่องการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรม
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
อยู่ในระดับ พอใช้ขึ้นไป
สังเกตพฤติกรรม
แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
อยู่ในระดับ พอใช้ขึ้นไป

ความรู้เพิ่มเติมสำหรับครู
          ตัวอย่างการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช  ด้วย  Application  Keynote  เช่น
แสง (ดอกทานตะวันหันดอกเข้าหาแสงอาทิตย์ ปลายยอดของพืชเบนเข้าหาแสง)
อุณหภูมิ (ดอกพุดตานเปลี่ยนสีในตอนเช้า สาย และเย็น ดอกบัวบานในตอนเช้าและหุบในตอนเย็น)
ความชื้น (รากพืชเจริญเข้าหาบริเวณที่ชื้นเสมอ)
การสัมผัส (การหุบของใบไมยราบ และต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง)
เสียง (พืชบางชนิดเกิดการสั่นไหว หรือเจริญเติบโตได้ดีเมื่อได้ยินเสียงเพลง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น